ข้ามไปเนื้อหา

พระจำนงค์ ธมฺมจารี

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
พระจำนงค์ ธมฺมจารี

(จำนงค์ เอี่ยมอินทรา)
ส่วนบุคคล
เกิด22 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2484 (83 ปี)
นิกายธรรมยุติกนิกาย
การศึกษานักธรรมชั้นเอก
ตำแหน่งชั้นสูง
ที่อยู่วัดสัมพันธวงศาราม วรวิหาร กรุงเทพมหานคร
อุปสมบท26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2504
พรรษา62

จำนงค์ เอี่ยมอินทรา อดีต พระพรหมเมธี ฉายา ธมฺมจารี ผู้ต้องหาหนีหมายจับความผิดฐานร่วมกันฟอกเงิน ตามพระราชบัญญัติ ป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ. ๒๕๔๒

ประวัติ

[แก้]

พระจำนงค์ ธมฺมจารี มีนามเดิมว่า จำนงค์ เอี่ยมอินทรา เกิดเมื่อวันที่ 22 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2484 ปีมะเส็ง เกิดที่บ้านริมน้ำนครชัยศรี ปากคลองบางระทึก ต.บางระทึก อ.สามพราน จ.นครปฐม อายุ 11 ขวบ โยมบิดา และโยมมารดา ได้นำไปบรรพชา เมื่อวันที่ 16 มิถุนายน 2495 ณ วัดราษฎร์บำรุง เขตบางแค กรุงเทพฯ มี พระครูวิศาลปริยัติคุณ (งาม จันทเทโว) วัดสามัคคยาราม จ.ปทุมธานี เป็นพระอุปัชฌาย์ กระทั่งอายุครบ 20 ปีบริบูรณ์ ได้เข้าพิธีอุปสมบท เมื่อวันที่ 26 พฤศจิกายน 2504 ณ วัดสัมพันธวงศ์ เขตสัมพันธวงศ์ กรุงเทพฯ มีพระมหารัชชมังคลาจารย์ (เทศ นิทฺเทสโก) เจ้าอาวาสวัดสัมพันธวงศ์ เป็นพระอุปัชฌาย์ พระเทพปัญญามุนี เป็นพระกรรมวาจารย์ และพระเนกขัมมมุนี เป็นพระอนุสาวนาจารย์ ได้รับฉายา ธมฺมจารี มีความหมายว่า ผู้ประพฤติธรรม ในวันที่ 24 พฤษภาคม 2561สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก (อัมพร อมฺพโร) มีพระบัญชา ปลดพระพรหมสิทธิ (ธงชัย สุขญาโณ) เจ้าอาวาสวัดสระเกศราชวรมหาวิหาร และเจ้าคณะภาค 10, พระพรหมเมธี ผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดสัมพันธวงศาราม,พ้นจากคณะกรรมการมหาเถรสมาคมและ ในวันที่ 30 พฤษภาคม โดนถอดออกจากถอนสมณศักดิ์ โดยสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพย วรางกูร มีพระราชโองการโปรดเกล้า โปรดกระหม่อมให้ประกาศว่า ด้วยปรากฏว่ามีกรณีพระภิกษุถูกกล่าวหาว่ากระทำการทุจริตและถูกดำเนินคดีอาญา ในความผิดฐานสนับสนุนเจ้าพนักงานยักยอกทรัพย์และปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบหรือโดยทุจริต อาศัยอำนาจตามประมวลกฎหมายอาญา และความผิดฐานร่วมกันฟอกเงิน จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้ถอดถอนสมณศักดิ์ พระพรหมเมธี (จำนงค์ เอี่ยมอินทรา)

คดีความ

[แก้]

พระจำนงค์ ธมฺมจารี เป็นผู้ต้องหาหนีหมายจับคดีร่วมกันฟอกเงิน สนับสนุนเจ้าพนักงานยักยอกทรัพย์ และปฏิบัติ หรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ

การหลบหนี

[แก้]

หลบหนีไปที่สปป.ลาวแล้ว ผบ.ตร.จึงประสานตำรวจลาวให้จับตัวทันที แต่พระพรหมเมธีเกิดไหวตัวทัน จึงเดินทางไปยังกัมพูชา แล้วขึ้นเครื่องบินไปลงยังสนามบินแฟรงก์เฟิร์ต ประเทศเยอรมัน เมื่อคืนที่วันที่ 2 มิ.ย.ที่ผ่านมา จากการตรวจสอบข้อมูลของตำรวจชุดสืบสวนจับกุมพบว่า พระพรหมเมธี เดินทางเข้าประเทศเยอรมนี โดยมีเป้าหมายคือ สำนักงานผู้อพยพและผู้ลี้ภัย ในเยอรมนี เพื่อจะขอยื่นเรื่องเป็นผู้ลี้ภัย

วิทยฐานะ

[แก้]

งานปกครอง

[แก้]
  • เป็นผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดสัมพันธวงศาราม
  • 20 สิงหาคม พ.ศ. 2545 เป็นพระอุปัชฌาย์วิสามัญ[1]
  • 10 มีนาคม พ.ศ. 2547 เป็นกรรมการมหาเถรสมาคม[2]
  • 20 กรกฎาคม พ.ศ. 2552 เป็นเจ้าคณะภาค 4-5-6-7 (ธรรมยุต)[3]
  • 24 พฤษภาคม พ.ศ. 2561 สมเด็จพระสังฆราชมีพระบัญชาปลดพ้นจากตำแหน่ง กรรมการมหาเถรสมาคม

สมณศักดิ์

[แก้]
  • พ.ศ. 2509 เป็นพระครูสังฆบริหาร ฐานานุกรมในพระมหารัชชมังคลาจารย์ (เทศ นิทฺเทสโก)
  • พ.ศ. 2513 เป็นพระครูปลัด ฐานานุกรมในพระเทพปัญญามุนี (เฉย ยโส)
  • พ.ศ. 2519 เป็นพระครูสัญญาบัตร ผู้ช่วยเจ้าอาวาสพระอารามหลวงชั้นเอกที่ พระครูวิบูลศีลวงศ์[4]
  • พ.ศ. 2524 เป็นพระครูสัญญาบัตร ผู้ช่วยเจ้าอาวาสพระอารามหลวงชั้นพิเศษในราชทินนามเดิม
  • พ.ศ. 2528 รับพระราชทานตั้งสมณศักดิ์เป็นพระราชาคณะชั้นสามัญที่ พระวิบูลธรรมาภรณ์[5]
  • พ.ศ. 2535 รับพระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์เป็นพระราชาคณะชั้นราชที่ พระราชธรรมาภรณ์ สุนทรกิจสาธิต ธรรมิกคณิสสร บวรสังฆาราม คามวาสี[6]
  • พ.ศ. 2539 รับพระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์เป็นพระราชาคณะชั้นเทพที่ พระเทพรัชมงคลเวที ญาณวาทีธรรมวินิต วิศิษฐกาญจนาภิเษกสาทร ยติคณิสสร บวรสังฆาราม คามวาสี[7]
  • พ.ศ. 2544 รับพระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์เป็นพระราชาคณะชั้นธรรมที่ พระธรรมกิตติเมธี ศรีปริยัติโสภณ วิมลสีลาจารวราภรณ์ สุนทรอรรถสาธิต ยติคณิสสร บวรสังฆาราม คามวาสี[8]
  • พ.ศ. 2553 รับพระราชทานสถาปนาสมณศักดิ์เป็นพระราชาคณะเจ้าคณะรองที่ พระพรหมเมธี สีลาจารวัตรวิมล โสภณปริยัติดิลก สาธกธรรมวิจิตร พิพิธศาสนกิจจาทร ธรรมยุตติกคณิสสร บวรสังฆาราม คามวาสี[9]
  • พ.ศ. 2561 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ถอดถอนออกจากสมณศักดิ์[10]

อ้างอิง

[แก้]
  1. มหาเถรสมาคม (20 สิงหาคม 2545). "เสนอขอแต่งตั้งเป็นพระอุปัชฌาย์วิสามัญ" (PDF). สำนักเลขาธิการมหาเถรสมาคม. สืบค้นเมื่อ 13 กันยายน 2559. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)[ลิงก์เสีย]
  2. มหาเถรสมาคม (10 มีนาคม 2547). "แต่งตั้งกรรมการมหาเถรสมาคมแทนตำแหน่งที่ว่าง" (PDF). สำนักเลขาธิการมหาเถรสมาคม. สืบค้นเมื่อ 13 กันยายน 2559. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)[ลิงก์เสีย]
  3. มหาเถรสมาคม (20 กรกฎาคม 2552). "เสนอแต่งตั้ง พระธรรมกิตติเมธี วัดสัมพันธวงศ์ ให้ดำรงตำแหน่ง เจ้าคณะภาค ๔ - ๕ - ๖ - ๗ (ธรรมยุต)" (PDF). สำนักเลขาธิการมหาเถรสมาคม. สืบค้นเมื่อ 13 กันยายน 2559. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)[ลิงก์เสีย]
  4. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานสัญญาบัตรตั้งสมณศักดิ์, เล่ม ๙๔, ตอนที่ ๓ ง ฉบับพิเศษ, ๖ มกราคม ๒๕๒๐, หน้า ๘
  5. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานสัญญาบัตรตั้งสมณศักดิ์, เล่ม ๑๐๓, ตอนที่ ๒๐ ง ฉบับพิเศษ, ๗ กุมภาพันธ์ ๒๕๒๙, หน้า ๔
  6. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่องพระราชทานสัญญาบัตรตั้งสมณศักดิ์, เล่ม ๑๐๙, ตอนที่ ๑๐๑ ฉบับพิเศษ, ๑๒ สิงหาคม ๒๕๓๕, หน้า ๗
  7. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่องพระราชทานสัญญาบัตรตั้งสมณศักดิ์, เล่ม ๑๑๓, ตอนที่ ๑๐ ข, ๗ มิถุนายน ๒๕๓๙, หน้า ๘
  8. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่องพระราชทานสัญญาบัตรตั้งสมณศักดิ์ เก็บถาวร 2015-09-30 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๑๘, ตอนที่ ๒๔ ข, ๗ ธันวาคม ๒๕๔๔, หน้า ๒๔
  9. ราชกิจจานุเบกษา, พระบรมราชโองการ ประกาศสถาปนาสมณศักดิ์, เล่ม ๑๒๘, ตอนที่ ๙ ข, ๑ มิถุนายน ๒๕๕๔, หน้า ๕-๗
  10. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศ เรื่อง ถอดถอนสมณศักดิ์, ตอนที่ 15 ข, เล่ม 135, 30 พฤษภาคม 2561, หน้า 1